วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


e-Mail

รูปการส่ง e-Mail

                  อีเมล (อังกฤษ:e-mail, email) ย่อมาจาก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ(ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อยบริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ พ.ศ. 2525(ค.ศ. 1982) และเปลี่ยน RFC 733 ไปเป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 11 (RFC 822) การแนบไฟล์มัลติมีเดียเริ่มมีการทำให้เป็นมาตรฐานใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) ด้วย RFC 2045 ไปจนถึงRFC2049 และภายหลังก็เรียกกันว่าส่วนขยายสื่อประสมในระบบอินเทอร์เน็ตแบบอเนกประสงค์ (MIME)
ระบบอีเมลที่ดำเนินงานบนเครือข่าย มากกว่าที่จะจำกัดอยู่บนเครื่องที่ใช้ร่วมกันครื่องเดียว มีพื้นฐานอยู่บนแบบจำลองบันทึกและส่งต่อ (store-and-forward model) เครื่องให้บริการอีเมลนั้นจะตอบรับ ส่งต่อ หรือเก็บบันทึกข้อความขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้คนนั้นจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบอีเมลภายในด้วยคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ บนเครือข่าย ในการรับส่งข้อความจากเซิร์ฟเวอร์ที่กำหนด ส่วนการส่งอีเมลโดยตรงจากอุปกรณ์สู่อุปกรณ์นั้นพบได้ยากกว่า

การสะกดคำ
การสะกดคำในภาษาอังกฤษ e-mail และ email เป็นการใช้โดยปกติทั้งคู่ แนวทางในการเขียนเชิงเทคนิคและเชิงข่าวหลายแห่งได้แนะนำว่าให้ใช้ e-mail  ส่วนการสะกดว่า email นั้นก็มีการยอมรับโดยพจนานุกรมหลายเล่มเช่นกัน  ในเอกสารขอความเห็น (RFC) ดั้งเดิมไม่ได้สะกดคำอย่างใดอย่างหนึ่งข้างต้น เพียงแค่กล่าวถึงการบริการนั้นว่า mail และอีเมลฉบับหนึ่ง ๆ ก็เรียกว่า message  นอกจากนั้นรูปพหูพจน์ e-mails หรือ emails ก็เป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกัน 
เอกสารขอความเห็นใหม่ ๆ และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) เลือกที่จะใช้คำว่า email เพื่อการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่ การแบ่งยัติภังค์ และการสะกดคำศัพท์ 
โดนัลด์ คนูธ (Donald Knuth) พิจารณาว่าการสะกดว่า e-mail นั้นล้าสมัย และได้หมายเหตุไว้ว่าคนในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่สะกดเป็น email กัน ในภาษาอื่นของยุโรปบางภาษา คำว่า email นั้นไปพ้องกับคำว่า enamel (สิ่งเคลือบ) 
ในภาษาไทย "อีเมล" เป็นการสะกดตามศัพท์บัญญัติจากราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งบัญญัติไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ในขณะที่ "อีเมล" เป็นการสะกดในหนังสือ พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2550 

ประวัติ
26 มีนาคม 2542 หนอนเมลิสซา โจมตีระบบอีเมล ทั่วโลก อีเมลเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2508     (ค.ศ. 1965) โดยใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ปัจจุบันได้มีการเถียงกันระหว่างเครื่อง SDC's Q32 และ MIT's CTSS ว่าใครเป็นผู้ใช้ระบบอีเมลเป็นเครื่องแรก
ต่อมาพัฒนาให้สามารถส่งอีเมลข้ามระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยระบบแรก ๆ ได้แก่ ระบบ AUTODIN ซึ่งเป็นระบบเชื่อมโยงข้อมูลของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (ปีพ.ศ. 2509) และ ระบบ SAGE ซึ่งใช้ตรวจจับเครื่องบินทิ้งระเบิด
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาร์พาเน็ต (ARPANET) มีส่วนเป็นอย่างมากในการพัฒนาอีเมล มีการทดลองส่งครั้งแรกในเครือข่ายเมื่อปีพ.ศ. 2512 ในปี พ.ศ. 2514 นายเรย์ ทอมลินสัน (Ray Tomlinson) เริ่มใช้เครื่องหมาย @ ในการคั่นระหว่างชื่อผู้ใช้กับชื่อเครื่อง เขายังเขียนโปรแกรมรับส่งอีเมลที่ชื่อ SNDMAIL และ READMAIL อาร์พาเน็ตทำให้อีเมลได้รับความนิยม และอีเมลก็ได้กลายเป็นงานหลักของอาร์พาเน็ต
เมื่อประโยชน์ของอีเมลเป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็มีการคิดค้นระบบอีเมลที่ติดต่อโดยช่องทางอื่นสำหรับผู้ที่ไม่มีสิทธิ์ใช้เครือข่ายอาร์พาเน็ต เช่นผ่านเครือข่าย UUCP หรือ VNET ก่อนที่มีการพัฒนาอีเมลที่ค้นหาเส้นทางในการส่งโดยอัตโนมัติ (auto-routing) การส่งผ่านอีเมลข้ามจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบจำเป็นระบุเส้นทางการส่งโดยใช้เครื่องหมาย ! คั่นชื่อเครื่องระหว่างทาง วิธีนี้สามารถเชื่อมอีเมลจาก อาร์พาเน็ต BITNET NSFNET UUCP เข้าด้วยกัน
ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2520 หน่วยงาน IETF ออกแบบและกำหนดโพรโทคอลในการส่งอีเมลที่มีชื่อว่า SMTP หรือ Simple Mail Transfer Protocol ปัจจุบันโพรโทคอลนี้ถือเป็นมาตรฐานในการรับส่งอีเมลบนอินเทอร์เน็ต

รูปแบบของอีเมล
รูปแบบของอินเทอร์เน็ตอีเมล จะใช้ในลักษณะของ RFC 2822 และรูปแบบของชุด RFCs (RFC 2045 ถึง RFC 2049) ซึ่งเรียกรวมว่า MIME อินเทอร์เน็ตอีเมล ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักแยกจากกัน คือ

ส่วนหัว
Header E-mail ส่วนหัวของอีเมล กำหนดตามมาตรฐาน RFC 2822 โดยทั่วไปส่วนหัวประกอบด้วยข้อความและตามด้วยเครื่องหมาย ":" และตามด้วยข้อมูล ในแต่ละข้อมูลจะประกอบไปด้วยอย่างน้อย 4 หัวข้อ ได้แก่
·         จาก: ที่อยู่อีเมลผู้ส่ง และอาจจะประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล
·         ถึง: ที่อยู่อีเมลผู้รับ และอาจจะประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล สามารถมีได้มากกว่า 1 คน แยกกันด้วย เครื่องหมาย ","
·         หัวข้อเรื่อง: สรุปเนื้อความของข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถเข้าใจเนื้อหาของข้อความคร่าวๆ
·         วันที่: วันและเวลาจากเครื่องผู้ส่ง
หัวข้ออื่น ๆ ได้แก่
·         สำเนา: (Cc, Carbon copy) ใช้สำหรับในการส่งข้อความเดียวกันให้คนอื่น (ในสมัยที่ใช้เครื่องพิมพ์ดีด กระดาษคาร์บอน ใช้ซ้อนในการพิมพ์จดหมาย)


ส่วนเนื้อความ
ส่วนเนื้อความของอีเมลเป็นเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ และอาจแนบไฟล์ไปกับเนื้อหาได้ด้วยการแบ่ง MIME แบบ multipart
รูปแบบไฟล์สำหรับเก็บบันทึก
แต่ละโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะใช้รูปแบบไฟล์แตกต่างกันออกไป
·         .eml - ใช้ในโปรแกรม เอาท์ลุก เอกซ์เพลส และ ทันเดอร์เบิร์ด
·         .mbox - ใช้ในโปรแกรม ยูโดรา

ผู้ให้บริการอีเมลฟรี
·         ฮอตเมล (Hotmail) บริการอีเมลจากไมโครซอฟท์ [1]
·         ยาฮู!เมล (Yahoo! Mail) บริการอีเมลจากยาฮู! [2]
·         จีเมล (Gmail) บริการอีเมลจากกูเกิล [3]
·         ไทยเมล์ (Thaimail) บริการอีเมลโดยบริษัทเออาร์ไอพี [4]
·         AOL Mail บริการอีเมลจาก AOL เป็นที่นิยมของคนอเมริกัน
·         คนไทยดอตคอม เป็นบริการอีเมลฟรีสำหรับคนไทยทุกคน ที่ทางกระทรวงมหาดไทยจัดทำให้ โดยชื่ออีเมลจะเป็นตัวอักษร "P" ตามด้วยเลขประจำตัวประชาชน และตามด้วย "@khonthai.com" เดิมสามารถสมัครได้ผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ปัจจุบันต้องยื่นเรื่องขอที่ทางสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ

โปรแกรมจัดการอีเมล (Email Client)
·         Eudora โปรแกรมยอดนิยมในยุคแรก ๆ จากบริษัท Qualcomm [5]
·         Microsoft Outlook Express โปรแกรมจัดการอีเมลที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows
·         Microsoft Outlook หนึ่งในโปรแกรมจัดการงาน ตารางนัดหมาย ปฏิทิน ที่มาพร้อมกับชุด Microsoft Office [6]
·         Netscape ในชุด Netscape Communicator ประกอบไปด้วยเบราว์เซอร์ โปรแกรมจัดการอีเมลและอ่านข่าว รวมไปถึงโปรแกรมเขียนเว็บเพจ  Thunderbird จาก Mozilla Foundation 
·         IncrediMail โปรแกรมอีเมลที่ใส่รูปแบบสีสันได้ดี
·         Lotus Notes โลตัสโน้ตส์ เป็นโปรแกรมอีกโปรแกรมหนึ่งซึ่งมีผู้นิยมใช้มาก มีจุดเด่นในเรื่อง Database ที่ใช้ในการส่งข้อมูลภายในองค์กรดีมาก

อีเมล์, E-Mail, Electronic Mail หรือ จดหมายอิเล็คทรอนิกส์


          E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง
รูปแบบชื่อ Email Address  จะเป็น  yourname@sanook.com
          1. yourname คือ ชื่อที่เราสามารถตั้งเป็นชื่ออะไรก็ได้ (แต่ต้องไม่ซ้ำกับของคนอื่น)
          2. เครื่องหมาย @ สำหรับกั้นระหว่าง ชื่อ กับ ชื่อเว็บไซต์ หรือ domain name
          3. sanook.com คือ ชื่อเว็บไซต์ หรือ domain name

ชนิดของการรับส่ง E-mail
          1. รับส่งโดยใช้โปรแกรม E-mail โดยเฉพาะ เช่น Outlook Express, Eudora
          2. รับส่งโดยผ่าน Web site เช่น 
www.sanook.com, www.yahoo.com
          3. รับส่งโดยผ่าน Web Browser เช่น Netscape, IE เป็นต้น
          การรับส่ง E-mail แบบที่ 1 ตามปกติจะต้องมีการกำหนด Configuration เพื่อกำหนด Incoming Mail และ Outgoing Mail Server ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากในการ check mail เนื่องจากบางคนไม่ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง หรือบางคนอาจจะต้องเดินทางบ่อย ๆ ทำให้ไม่ค่อยสะดวก ดังนั้น แบบที่ 2 คือ check email ผ่าน Web site จึงมีผู้นิยมมากที่สุดในโลก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกำหนด Configuration อะไรทั้งสิ้น แค่เพียงสมัครเป็นสมาชิกกับ Web site ที่ให้บริการ แค่จำชื่อ User และ Password เท่านั้น ก็สามารถจะตรวจสอบ E-mail ได้จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก (การลงทะเบียนเพื่อขอ E-mail แบบที่ 2 นี้จะเป็นการให้บริการฟรี!)
Web site ที่ให้บริการ E-mail ฟรี ได้แก่
          
http://www.sanook.com
          http://www.hotmail.com
          http://www.chaiyo.com
          http://www.gmail.com
          
อื่น ๆ 

วิธีการใช้งานทั่วไป
          1. TO - หมายถึง ชื่อ E-mail สำหรับผู้รับ
          2. FROM - หมายถึง ชื่อ E-mail สำหรับผู้ส่ง
          3. SUBJECT - หมายถึง หัวข้อเนื้อหาของจดหมาย
          4. CC - หมายถึงสำเนา E-mail ฉบับนี้ไปให้อีกบุคคลหนึ่ง
          5. BCC - หมายถึงสำเนา E-mail ฉบับนี้ไปให้อีกบุคคลหนึ่ง แต่ผู้รับ (TO) จะไม่ทราบว่าเราสำเนาให้ใครบ้าง
          6. ATTACHMENT - ส่ง file ข้อมูลแนบไปพร้อมกับ E-mail

 

ตัวอย่างของ e-Mail




แหล่งที่มา
เมื่อวันที่  19  กุมภาพันธ์   2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น