วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

 

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม





               

    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (อังกฤษ: Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมมีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีวิวัฒนาการสูงที่สุดในบรรดาสิ่งมีชีวิต ลักษณะเด่นคือ มีต่อมน้ำนม สำหรับผลิตนมใช้เลี้ยงลูกในระยะแรกเกิด มีสมองขนาดใหญ่จึงมีความเฉลียวฉลาดมากกว่าสัตว์กลุ่มอื่นๆ เป็นสัตว์เลือดอุ่นสามารถ ปรับอุณหภูมิของร่างกายให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีขนขึ้นที่ผิวหนังปกคลุมร่างกาย เพื่อช่วยในการรักษาอุณหภูมิให้ร่างกาย เพื่อช่วยในการรักษาอุณหภูมิให้ร่างกาย แต่บางชนิดเช่น ตัวลิ่นมีขนขึ้นใต้เกล็ดแข็งที่หุ้มตัว

   สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่

ความเป็นมา


             ต้นกำเนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เกิดในยุค triassic เมื่อประมาณ 215 ล้านปี ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด ซึ่งหลังจากที่ยุคไดโนเสาร์เริ่ม สูญพันธุ์เมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว

            สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 4,000 กว่าชนิด 17 อันดับ ที่พบในเมืองไทยมี 14 อันดับ เป็นสัตว์ทะเล 2 อันดับ และสัตว์บก 12 อันดับ การจัดจำแนกอาศัยลักษณะของกระโหลก ฟัน เครื่องปกคลุมร่างกาย เขา เล็บ และกรงเล็บ มือและเท้า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบส่วนใหญ่ในพื้นที่อุทยานฯ เป็นสัตว์ป่าจึงพบได้ไม่บ่อยนักยกเว้น ลิงแสม นาก พังพอน และกระรอก ที่พบทั่วไป ตามป่าชายเลนและป่าชายหาด ส่วนสัตว์ป่าที่พบเห็นในเวลากลางคืนมักเป็นสัตว์เล็ก เช่น ชะมด อีเห็น และนางอาย เป็นต้น
ที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki  เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์  2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น